Primary series กับ จักระต่างๆ

วันนี้จะเขียนเรื่องอื่นนอกจากอาสนะ ซักหน่อย เป็นเรื่องที่เราเคยได้เรียนมาบ้าง แล้วก็ค้นพบว่า สนุกดี และบางทีก็ปรับใช้เข้ากับการฝึกได้ด้วย ถ้าตรงไหนมีถูกหรือผิด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

เวลาเราพูดถึงเรื่องของโยคะ แน่นอนว่า โยคะเป็นศาสตร์ชนิดนึง ไม่ใช่เพียงแค่ การออกกำลังกาย แต่โยคะจะมีไปถึงการฝึกลมหายใจ การ cleansing ต่างๆ รวมไปถึง จักระต่างๆ ในรางกาย ก็มีอยู่ในศาสตร์ของโยคะด้วยเช่นกัน

จักระ (Chakras) คืออะไร จักระ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า วงล้อ (Wheel) มีความเชื่อว่า ในร่างกาย มีวงล้อพลังงานหมุนเวียนอยู่ ในแต่ละตำแหน่ง ก็มีความสำคัญต่างๆ กัน ออกไป มีสี มีชื่อเรียกต่างกัน ตามตำแหน่งต่างๆ ตามร่างกาย มีทั้งหมด 7 จักระด้วยกัน

จักระ แต่ละแห่ง นอกจากจะมีสี มีชื่อเรียก ต่างกันแล้ว  ยังมีความสำคัญในแง่ของความรู้สึก หากจักระส่วนใดๆก็ตามถูกกระตุ้น จะทำให้เกิดผลในแง่ของอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ กันไปอีกด้วย

ในการฝึกอัชทางก้าโยคะ เราจะใช้ลมหายใจเป็นแบบ อุชชายี ส่วนตัวคิดว่า การใช้ลมหายใจแห่งอุชชายีก็เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ เพราะลมหายใจแบบ อุชชายี ช่วยกระตุ้นไฟ ในร่างกาย เป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นจักระในร่างกายก่อน

ตำแหน่งของจักระต่างๆ

เริ่มจาก​ ฐานล่าง ขึ้นไป

Muladhara หรือ Root Chakra จักระนี้เป็นจักระที่อยู่ที่ฐานล่าง มีสัญลักษณ์เป็นธาตุดิน สีคือ สีแดง ถ้าจักระนี้เปิดออกแบบสมดุล เราจะมีความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย  แต่ถ้าจักระนี้ไม่สมดุล อาจจะทำให้เรารู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัย ระแวง
**การฝึกในท่ายืน และท่า forward bend จะช่วยสมดุล muladhara ได้

Svadhisthana หรือ Sacral Chakra จักระนี้มีสัญลักษณ์เป็นธาตุน้ำ สีคือ สีส้ม ตำแหน่งของจักระนี้ คือ สามนิ้วลงมาจากสะดือ จักระนี้จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ถ้าจักระสมดุลเราก็จะรู้สึกอารมณ์สมดุล มีความคิดสร้างสรรค์ และมองโลกในแง่ดี ถ้าจักระนี้ไม่สมดุล เราก็อาจจะรู้สึกโลภ หลง หรืออาจจะรู้สึกไม่เชื่อมต่อกับอารมณ์ของตัวเอง

** การฝึกในท่านั่งต่างๆ forward bend, janusirsana รวมไปถึงท่า twisting ต่างๆ ก็จะช่วยทำให้จักระนี้สมดุล

Manipura หรือ Solar Plexus จักระนี้เป็นธาตุไฟ สีคือสีเหลือง ตำแหน่งจะอยู่ที่สะดือ จักระนี้ก็ตามธาตุ คือ ธาตุไฟ เมื่อจักระนี้สมดุล เราจะรู้สึก มีแรงขับเคลื่อน มีความมั่นใจ มีพลังในตัวเอง ถ้าจักระนี้ไม่สมดุลเมื่อไหร่ เราอาจจะรู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง เฉื่อยชา

**การฝึกตั้งแต่ sun salutation โดยใช้ลมหายใจแบบ อุชชายี เข้าช่วย จะช่วยกระตุ้นไฟในร่างกาย รวมไปจนถึง ท่า twisting ต่างๆ เช่น maricasana D นั้นช่วยกระตุ้นจักระนี้ได้เป็นอย่างดี

Anahata-chakra หรือ  Heart Chakra จักระนี้ เป็นธาตุลม สัญลักษณ์ เป็นสีเขียว อยู่บริเวณที่หน้าอก เมื่อจักระนี้เปิดออก เราจะรู้สึกอ่อนไหว รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรัก ความอ่อนโยน แต่เมื่อจักระนี้ไม่สมดุล เราอาจจะรู้สึกไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น อิจฉา หรือถ้าจักระนี้ถูกกระตุ้นมากเกินไปก็อาจจะรู้สึกเซนสิทีฟมากเกินไป อ่อนไหวมากเกินไปได้

**การฝึกในท่า upward facing dog และท่า backbending เป็นการกระตุ้น จักระนี้ได้เป็นอย่างดี ในบางคนที่ทำ backbending อาจจะเกิดความรู้สึก openness ขึ้นมา หรือบางคนที่ทำมากเกินไปอาจจะรู้สึกเศร้า เสียใจ นั่นเป็นเพราะจักระนี้ถูกกระตุ้นมากเกินไปได้

Vishuddha หรือ Throat Chakra จักระนี้อยู่ที่บริเวณคอของเรารวมไปถึง บ่าไหล่ และไธรอยด์ เป็นธาตุน้ำ เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร การพูดคุย เมื่อเรากระตุ้นจักระนี้ เราจะมีการติดต่อสื่อสาร พูดคุยที่ดีขึ้น รวมไปถึง ทำให้เรารู้เป้าหมายของชีวิต แต่เมื่อจักระนี้ไม่สมดุลเมื่อไหร่ อาจจะนำไปสู่การพุดที่มากเกินพอดี การนินทาว่าร้าย หรือพูดจาหยาบคาย

**การฝึกในท่า ที่เกี่ยวข้องกับคอบ่าไหล่ เช่น Supta Konasana, Setu Bandhasana, Shoulder stand ช่วยกระตุ้นจักระนี้ได้เป็นอย่างดี

Ajna Chakra หรือ Third Eye Chakra จักระนี้อยู่บริเวณ หว่างคิ้ว หรือ หน้าผาก ที่เชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่มีตาที่สามของเราอยู่ ตาที่สามนี้เกี่ยวเนื่องกับ การรับรู้ เชื่อว่าเมื่อตาที่สามเปิด การรับรู้ของเราจะดีขึ้น สีคือสีน้ำเงินเข้ม ธาตุเป็นธาตุแสง (light) เมื่อจักระนี้สมดุล อาจจะทำให้เราเกิดปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่ถ้าจักระนี้ไม่สมดุล เราอาจจะหัวตื้อ คิดอะไรไม่ค่อยออก ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ได้

**การฝึกในท่า Headstand, balasana, padmasana จะช่วยกระตุ้นจักระนี้ได้เป็นอย่างดี

Sahasrara หรือ Crown Chakra จักระสุดท้าย ที่อยู่บนสุด ที่กลางกระหม่อนศีรษะของเรา สีที่แทนจักระนี้คือสีม่วง หรือสีขาว ธาตุคือ Cosmic energy สามารถเรียกได้ว่า ถ้าจักระนี้สมดุล เราจะรู้สึก เปิด รู้สึกเชื่อมโยงกับจักรวาล ทำให้มีความสุข  ถ้าจักระนี้ไม่สมดุล เราอาจจะรู้สึก ไม่เชื่อมโยง จิตใจคับแคบ ถ้าจักระนี้ถูกกระตุ้นมากเกินไปก็อาจจะเกิดอาการ ลุ่มหลงกับทางด้านจิตวิญญาณมากเกินไปได้เช่นกัน

**เมื่อเราฝึกมาจนถึงสุดท้าย คือ take rest (หรือ Svasana ใน vinyasa yoga) นั่นเอง

ถ้าเราดูตามซีรียส์ของ Ashtanga yoga ถ้าดูรูปนี้อาจจะพอเข้าใจคร่าวๆ เพราะเค้าแบ่งตามสีที่กระตุ้นจักระให้ดูเข้าใจง่ายๆ

จะเห็นว่า การฝึก primary series นั้น มีการกระตุ้นจักระทุกๆ จักระ เมื่อเราฝึก เราจะรู้สึกว่า กายใจ สมดุล ระบบต่างๆ ในร่างกายได้รับการกระตุ้น จึงเรียกได้ว่า primary series หรือ yoga chikitsa  นั้นเป็น therapy ในด้านจักระด้วยนี่เอง

ส่วนตัวถ้ารู้สึกไม่สบาย ป่วย จิตใจไม่สงบ บาดเจ็บ จะหันกลับมาฝึก primary series  ทันที เพราะจะรู้สึกว่าร่างกายได้รับการเยียวยา จักระต่างๆ ในร่างก็ได้รับการกระตุ้นให้เกิดความสมดุลมากขึ้น พอฝึกเสร็จจะรู้สึกโล่งๆ หัว สบายใจมากขึ้น เพื่อนๆคนอื่นไม่รู้เป็นหรือเปล่า ยังไงลองสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ก่อนฝึกกับหลังฝึก ดูนะคะ

About Beauyogarabbit (254 Articles)
Yoga X Handbalance Teacher Owner of Overmoon Yoga, THAILAND Founder of Viira Training

Leave a comment