Boonchuji’s Conference : January 2017! Focus on breathing
สำหรับชาวอัชทางกี้ เดี๋ยวนี้ที่ AYBKK จะมีการจัด Conference ขึ้นทุกๆ อาทิตย์แรกของเดือน ครูบุญชูบอกว่า เป็นนโยบายของชารัท ที่ต้องการที่จะให้ทุกชาล่ามี เพื่อพูดคุยกับนักเรียน แลกเปลี่ยนกัน ทั้งเรื่องในเสื่อและนอกเสื่อ ในงานก็มีขนมกินเพียบเลยค่ะ อิอิ ชอบบบ เหมือนเป็นงานเลี้ยง พบปะกัน ชิลๆ แล้วก็ฟังครูบุญชูคุยในเรื่องที่มีประโยชน์ในการฝึก และข้อคิดดีดี
วันนี้ครูบุญชู ได้หยิบเรื่อง Vinyasa ขึ้นมาพูดก่อน ครูบอกว่า Vinyasa สิ่งที่สำคัญคือ One breath one movement หรือ หนึ่งการเคลื่อนไหว ต่อหนึ่งลมหายใจ
ครูบอกว่า กูรูจี เน้นมาก เรื่องการหายใจ
หากเราหายใจไม่สม่ำเสมอ หรือหายใจเร็วเกินไป ก็เหมือนเราได้โยนจิตใจของเราทิ้ง
ถ้าเราไม่หายใจช้า การเคลื่อนไหวของเราก็ย่อมที่จะไม่ช้าตาม
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อย่าหายใจสองครั้งต่อหนึ่งลมหายใจ
เราต้องรู้ State of asanas และต้องรู้ว่า หายใจเข้าตอนไหน หายใจออกตอนไหน
เมื่อวินยาสะถูกต้อง ร่างกายของเราจะเริ่มสร้างความร้อน สารพิษจะเริ่มถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางเหงื่อ
ถ้าเราไม่มีเหงื่อเลยตลอดการฝึก นั่นแปลว่า ลมหายใจกับการเคลื่อนไหวของเราไม่ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน
ถ้าเราเหงื่อไม่ออก ลองสังเกตุว่า เราค้างอยู่ในท่า และหายใจเกินรึเปล่า (หรือโกงนั่นเอง 😀 )
การฝึกของเราต้อง moving with correct breathing หรือ เคลื่อนไหวพร้อมหายใจอย่างถูกต้อง
เราต้องฝึกจนกระทั่งเราถึงจุดที่ เราหายใจได้ง่าย ยาวขึ้น และสงบขึ้น
เมื่อถึงจุดนั้น เราจะเริ่มเข้าลึกลงไปในจิตใจของเรา
ครูได้พูดถึง พิษร้าย หกอย่าง ของมนุษย์
- Desire ความปรารถนา
- Anger ความโกรธ
- Delusion ภาพลวงตา
- Greed ความโลภ
- Envy ความอิจฉา
- Sloth ความขี้เกียจ
การฝึกของเราเป็นไปเพื่อขจัดพิษร้ายทั้งหกอย่างนี้
เป็นธรรมดาของการฝึก ที่เมื่อเราฝึก เราจะพบเจอกับหกสิ่งนี้
เราอาจจะเกิดความปรารถนา ที่จะอยากทำท่านั้นท่านี้ (Desire)
แล้วเราก็อาจจะเกิดความโกรธที่แม้เราจะพยายามทำท่านั้นมากเท่าไหร่ เราก็ยังทำมันไม่ได้ซักที (Anger)
หรือเราอาจจะมโนภาพในใจ คิดว่าท่าที่เราทำอยู่ตอนนี้ มันสวยงาม สุดยอด ท่าลึกมากเหมือนดาราใน IG เค้าทำกัน (Delusion)
หันไปเห็นคนอื่นทำ ทำไมเค้าทำเก่งจัง ทำไมชั้นทำไม่ได้อย่างเค้า (Envy)
หรือสุดท้ายก็เหนื่อยจังเลย ไม่อยากฝึกแล้ว หยุดดีกว่า ข้ามท่าดีกว่า (Sloth)
การฝึกของเรา เมื่อเราฝึกไปเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นในใจ แต่เราฝึกอาสนะไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มกลับเข้าสู่ภายในใจของเรา
เรียกว่า การฝึกนี้ เป็นการตระหนักรู้ถึงภายในของตัวเอง ผ่านการฝึกทางร่างกาย
เมื่อการฝึกของเราเริ่มจะง่ายขึ้น การหายใจของเราเริ่มจะยาวขึ้น เมื่อนั้น เราจะเริ่มเข้าไปสำรวจภายในลึกๆ ของจิตใจตัวเองได้
วันนี้ครูบุญชูก็พูดสั้นๆ เพียงเท่านี้ค่ะ สำหรับประสพการณ์ส่วนตัวของโบว์ ก็เห็นว่าเป็นอย่างที่ครูบุญชูว่านะคะ การฝึกอัชทางก้าให้อะไรมากกว่าอาสนะ เมื่อเรามีระบบ ระเบียบให้กับตัวเอง ฝึกเพื่ออยู่กับตัวเอง ฝึกเพื่อเข้าสู่ลึกๆ ภายในจิตใจแล้ว เราจะเห็นอะไรภายในใจของตัวเองมากมายจริงๆค่ะ
ใครสนใจฟัง conference ก็มาได้นะคะ ที่ AYBKK ทุกอาทิตย์ต้นเดือนค่ะ
ขอบคุณภาพประกอบน่ารักๆ จากน้องนกค่า มันน่ารักมากจริงๆ จนต้องขอมาประกอบบล๊อก
Leave a Reply